1. ความหมาย
คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานตามชุดสั่งอย่างอัตโนมัติโดยจะทำการคำนวณ เปรียบเทียบทางตรรกะกับข้อมูลและให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ2. วิวัฒนาการ
- ยุคประวัติศาสตร์ เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด ชาวจีนได้ใช้มากว่า 7000 ปี
- ยุคที่ 1 พ.ศ.(2488-2501) คอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ UNIVAC (Universal Automatic Computer) ใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มาก ราคาแพง ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง ไส้หลอดขาดบ่อย
- ยุคที่ 2 พ.ศ.(2502-2506) มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว
- ยุคที่ 3 พ.ศ.(2507-2512) ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI)
- ยุคที่ 4 พ.ศ.(2513-2532) เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
- ยุคที่ 5 2533-ปัจจุบัน(ในอนาคต) มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
3. ประเภท
- Supercomputer
- Mainframe
- Minicomputer
- Microcomputer
4. ประโยชน์
- การทำงานเอกสารที่ซ้ำๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- การคำนวณตัวเลข ถูกต้อง แม่นยำ
- สามารถเก็บข้อมูล ปรับปรุงแก้ไข ได้โดยง่าย
- การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นฐานข้อมูล แล้วสืบค้นได้
- การติดต่อสื่อสาร เพื่อสืบค้นข้อมูล เพื่อบันเทิง
5. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1) บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ คือ ผู้จัดการระบบ (System Manager) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ผู้ใช้ (User)2) กรรมวิธี คือกระบวนการอธิบายขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่การรับข้อมูล การประมวลผล และการแสดงผล
3) ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
- ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
- OS
- Translator
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
- แบบสำเร็จรูป
- ใช้งานเฉพาะด้าน
- ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
- ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
- ข้อมูลเสียง (Audio Data)
- ข้อมูลภาพ (Images Data)
- และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
- ส่วนการนำเข้า (Input)
- ส่วนการประมวลผล (Processing)
- ส่วนการแสดงผล (Output)
6. อุปกรณ์พื้นฐาน
ส่วนประกอบ
|
หน้าที่
|
1. Monitor | Screen, Display ใช้แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบัน ส่วนมากใช้จอแบบหลอดภาพ (CRT หรือ Cathode Ray Tube)และจอแบบผลึกเหลว (LCD หรือ Liquid Crystal Display) |
2. Computer Case | เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, Disk Drive, Hard Disk ฯลฯ |
3. Keyboard | ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือป้อนข้อมูล มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่มีปุ่มพิมพ์มากกว่า |
4. Mouse | ใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่นเดียวกับการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด |
5. Modem | อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ได้ |
6. Printer | อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ |
7. Scanner | อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป |
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon