[ฟิสิกต์] หน่วยการวัดและเลขนัยสำคัญ


1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร

  1. จากการสังเกต บันทึก ทดลอง วิเคราะห์ สรุปผล
  2. จากการสร้างแบบจำลอง
2. หน่วยการวัด

ใช้ หน่วยระหว่างชาติ (SI Units)
  1. หน่วยฐาน Base Units
    1. ความยาว เป็น m
    2. มวล เป็น kg
    3. เวลา เป็น s
    4. กระแสไฟฟ้า เป็น A
    5. อุณหภูมิอุณหพลวัติ เป็น K
    6. ปริมาณของสาร เป็น mol
    7. ความเข้มของการส่องสว่าง cd
  2. หน่วยเสริม Subplementary Units
    1. radian คือมุมในวงกลมที่ความยาวส่วนโค้งเท่าความยาวรัศมี
    2. steradiant คือมุมในทรงกลมที่ความยาวด้านจัตุรัสส่วนโค้งเท่าความยาวรัศมี
  3. หน่วยอนุพันธ์ Derived Units
    1. ความเร็ว เป็น m/s
    2. ความเร่ง เป็น m/s^2
    3. แรง เป็น N
    4. งาน เป็น J
    5. กำลัง เป็น W
    6. ความถี่ เป็น Hz
    7. ความดัน เป็น Pa
  4. คำอุปสรรค Prefixes เขียนในรูปตัวพหุคูณ 10 ยกกำลัง
    1. 10^18 = E, 15 = P, 12 = T, 9 = G, M = 6, k = 3, 2 = h, 1 = da
    2. 10^-1 = d, -2 = c, -3 = m, -6 = มิว, -9 = n, -12 = p, -15 = f, -18 = a
3. การบันทึกตัวเลขที่เหมาะสม

บันทึกตามค่าที่อ่านได้จริงจากเครื่องมือ และประมาณตัวเลขต่อท้ายอีกหนึ่งตัวให้ผลใกล้เคียงความจริง

4. เลขนัยสำคัญ (Significant)
  1. หลักการนับจำนวนเลขนัยสำคัญ
    1. เริ่มนับตั้งแต่เลขแรกที่เป็น 1-9 ถัดมานับหมด เช่น 0.0052 = 2, 10.00 = 4
    2. ในรูป A x 10^n เมื่อ 1<=A<=10, n เป็นจำนวนเต็ม ให้ดูแค่ A เช่น 0.012 x 10^-7 = 1.2 x 10^-9 = 2 ตัว
    3. เลขจำนวนเต็มนับทุกตัว ถ้าท้ายมีศูนย์ก็ให้จัดรูปแล้วนับ เช่น 15000 
  2. การบวกลบ ยึดเอาความละเอียดของตัวที่ทศนิยมน้อยสุด
  3. การคูณหาร ยึดเอาจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยสุด

Previous
Next Post »