1. ลักษณะทั่วไป
- การบัญชี (Accounting)
- การจดบันทึก จัดประเภท รวบรวม และสรุปผล
- เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะกิจการ
- เสนอต่อผู้ใช้งบการเงินทั้งภายในและนอกกิจการ
- การทำบัญชี (Bookkeeping) แค่ทำรายงานทางการเงิน เป็นแค่สับเซต แต่การบัญชีจะรวมถึงการทำระบบ วิเคราะห์ ตีความด้วย
- วิวัฒนาการ
- บัญชีมีมาตั้งแต่สมัยบาบิโลเนียน อียิปต์ เมื่อ 5000 ปีก่อน บัญชีคู่ ศ.ต. 14
- บิดาการบัญชี คือ Luca Pacioli
- วัตถุประสงค์
- บุคคลภายในกิจการ ใช้ไปวางแผน
- บุคคลภายนอก เช่น ตัดสินใจลงทุน
- ประเภท
- แบ่งตามระบบเศรษฐกิจ
- ภาครวม (Macro)
- ภาคย่อย (Micro)
- แบ่งตามวัตถุประสงค์
- แสวงหากำไร (Profit-motive)
- ไม่แสวงกำไร (Non-profit motive)
- แบ่งตามลักษณะงาน
- ส่วนบุคคล (Private)
- สาธารณะ (Public)
- ส่วนราชการ (Government)
- แบ่งตามการใช้ข้อมูล
- การเงิน (Financial)
- บริหาร/เพื่อการจัดการ (Managerial)
- สถาบันวิชาชีพบัญชี
- ต่างประเทศ
- American Institute of Certified Public Accountants: AICPA
- Institute of Internal Auditors: IIA
- International Accounting Standard Board: IASB
- International Federation of Accountants Committee: IFAC
- Confederation of Asia and Pacific Accountants: CAPA
- ASEAN Federation of Accountant: AFA
- ในประเทศไทย
- สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions)
- สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (The Institute of Internal Auditors of Thailand: IIAT)
2. หน่วยงานธุรกิจ
- ประเภท
- บริการ (Service)
- พาณิชยกรรม (Merchandise)
- อุตสาหกรรม (Manufacturing)
- รูปแบบ
- กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
- ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
- 2 คนขึ้นไป มาแบ่งกำไรกัน
- สามัญ (Ordinary) ทุกคนรับผิดชอบหนี้ไม่จำกัดจำนวน ทุกคนมีสิทธิ์บริหาร จดทะเบียนนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ถ้าจด เฉพาะหุ้นส่วนผู้จัดการจะบริหารได้
- จำกัด (Limited) เป็นนิติบุคคลเสมอ จะต้องมีอย่างน้อยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดไม่จำกัด ที่เหลือก็ตามส่วนลงทุน
- บริษัท (Company Limited or Corporation)
- แบ่งเงินทุนเป็นหุ้น (ทุนเรือนหุ้น) เป็นนิติบุคคล ผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินเงินที่ยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ถือ ได้เงินปันผล (Dividend) มีคณะกรรมการบริหาร
- จำกัด (Company Limited) จัดตั้งตาม กม.แพ่งและพาณิชย์ 7 คนขึ้นไป หุ้นละไม่ต่ำกว่า 5 บาท
- มหาชนจำกัด (Public Company Limited) จัดตั้งตาม พรบ.บริษัทมหาชนจำกัด 15 คนขึ้นไป
- ทุนหุ้นสามัญ (Common Stock) ผู้ถือมีสิทธิ์ในการบริหาร ออกเสียงเลือกผู้บริหาร
- ทุนหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) ไม่มีสิทธิ์เสียง ได้เงินปันผลตามที่ระบุ
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดูแลโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- พรบ.การบัญชี 2543 ดูแลธุรกิจและกำหนดหน้าที่ผู้ทำบัญชี
- พรบ.วิชาชีพบัญชี 2547 เน้นเชิงนโยบาย โครงสร้าง อบรมความรู้
- ประมวลผล กม.แพ่งฯ บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท
- ประมวลรัษฏากร จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะ
- ข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.) จัดทำและนำส่งงบการเงิน
พรบ.การบัญชี 2543
- ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
- บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน
- นิติบุคคล : ห.จดทะเบียน บ.จำกัด บ.มหาชนจำกัด นิติบุคคลตั้งตามกม.ตปท.ที่ทำธุรกิจในไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลผลรัษฎากร
- การจัดเก็บ เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ถ้าหายแจ้งภายใน 30 วัน ถ้าเลิกโดยไม่ชำระบัญชี ต้องส่งมอบบัญชีภายใน 90 วัน
- คุณวุฒิผู้ทำบัญชี ห.จดทะเบียน / บ.จำกัด ทุนจดไม่เกิน 5 ล้าน สินทรัพย์/รายได้ไม่เกิน 30 ล้าน ต้องจบไม่ต่ำกว่า ปวส. ทุนเกินนั้นต้องจบ ป.ตรี
พรบ.วิชาชีพบัญชี 2547
- วิชาชีพบัญชีแบ่งเป็น 6 ด้าน (2 อันแรกเป็นวิชาชีพควบคุม)
- ทำบัญชี
- สอบบัญชี
- บัญชีบริหาร
- วางระบบบัญชี
- บัญชีภาษีอากร
- ศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
- มีคณะกรรมการกำหนดมาตรฐาน สอบสวนผิดจรรณยาบรรณ
4. จรรยาบรรณ
- ความจำเป็น : กำหนดบรรทัดฐาน สร้างความน่าเชื่อถือ สร้างสัมพันธ์ที่ดี
- หลักการพื้นฐาน
- โปร่งใส อิสระ เที่ยงธรรม ซื่อสัตย์
- ความสามารถในการทำงาน
- ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและรักษาความลับ
- ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น/นิติบุคคล
- การกระทำที่ผิด
- ไม่ทำตามจรรณยาบรรณ
- ไม่ปฏบัติตามหน้าที่ของตนตามมาตรฐานบัญชี
- รับอนุญาตรายงานผลการสอบบัญชี โดยระบุข้อความแสดงความไม่รับผิดชอบ
- คณะกรรมการ วาระละ 3 ปี แต่ 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
- การลงโทษ (อุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน)
- ตักเตือน
- ภาคทัณฑ์
- พักใบอนุญาต ห้ามทำงานด้านที่ผิดไม่เกิน 3 ปี
- เพิกถอนใบอนุญาต
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon