บัญชีขั้นต้น: 2 แม่บท มาตรฐาน นโยบาย

1. แม่บทการบัญชี

  1. แม่บทการบัญชี หมายถึง กรอบแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก้ผู้ใช้ภายนอกได้ถูกต้อง ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานให้สอดคล้องกัน
  2. ประโยชน์ : ช่วยให้เกิดความเข้าใจ สอดคล้องกัน ต่อมาตรฐานการบัญชี ผู้จัดทำ และผู้ใช้งบการเงิน
  3. วัตถุประสงค์ : ใช้เป็นแนวทางพัฒนามาตรฐาน การปฏิบัติ เช็คว่าบัญชีจัดทำตามมาตรฐานมั้ย
  4. ขอบเขต คลอบคลุมเรื่องต่อไปนี้ เกี่ยวกับงบการเงิน

งบการเงิน

  1. วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
    2. มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน
    3. มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
  2. ข้อสมติในการจัดทำงบการเงิน
    1. เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) : เกิดรายได้ค่าใชจ่ายในงวดบัญชีที่เกิดนั้น แม้จะไม่ได้รับเงินสด
    2. การดำเนินงานต่อเนื่อง (Continuity Concept) : ว่ากิจการจะดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต แต่เพื่อการทราบผลการดำเนินงานในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ จึงต้องมีระยะการวัดผล เรียกว่า งวดบัญชี ปกติงวดละ 12 เดือน
  3. ลักษณะเชิงคุณภาพงบการเงิน ลักษณะที่ดีคือต้องให้ข้อมูลมีประโยชน์
    1. ความเข้าใจได้
    2. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
    3. ความเชื่อถือได้
    4. การเปรียบเทียบกันได้
    5. แม้ว่าจะมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดต่อไปนี้ด้วย : ทันต่อเวลาสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป สมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ
  4. องค์ประกอบงบการเงิน คือประเภทรายการทางบัญชีที่แยกตามลักษณะ้ชิงเศรษฐกิจ
    1. งบดุล
      1. สินทรัพย์
      2. หนี้สิน
      3. ส่วนของเจ้าของ
    2. งบกำไรขาดทุน
      1. รายได้
      2. ค่าใช้จ่าย
    3. การรับรู้องค์ประกอบดังกล่าว คือการรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุล/กำไรขาดทุน ภายใต้เงื่อนไข 
      1. เป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่ประโยชน์จะเข้า/ออกกิจการ 
      2. มีมูลค่าที่วัดได้
    4. การวัดมูลค่าองค์ประกอบ คือ การกำหนดจำนวนเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบ
      1. ราคาทุนเดิม
      2. ราคาปัจจุบัน
      3. มูลค่าที่จะได้รับ
      4. มูลค่าปัจจุบัน
  5. แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน 
    1. เกี่ยวกับทุน
      1. แนวคิดทางการเงินเกี่ยวกับทุน : เงินลงทุน => สินทรัพย์สุทธิหรือส่วนของเจ้าของ
      2. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางกายภาพ : กำลังการผลิต วัดได้ในรูปผลผลิต
    2. การรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร
      1. รักษาระดับทุนทางการเงิน : กำไรที่เกิดจากจำนวนที่เป็นตัวเงินของสินทรัพย์สุทธิเมื่อสิ้นงวด
      2. รักษาระดับทุนทางกายภาพ : กำไรที่เกิดจากกำลังการผลิตหรือความสามารถในการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวด

2. มาตรฐานการบัญชี

  1. แนวคิด
    1. มาตรฐานการบัญชี คือ หลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปซึ่งแสดงวิธีปฏิบัติทางการบัญชี
    2. รูปแบบ ประกอบด้วย : คำแถลงการณ์ วัตุประสงค์ คำนิยม ขอบเขต วันถือปฏิบัติ
    3. มาตรฐานของไทยกำหนดเกี่ยวกับ : ประเภทข้อมูล การวัดมูลค่าข้อมูล จัดทำ นำเสนอ เปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
  2. มาตรฐานของต่างประเทศ
    1. ระหว่างประเทศ International Accounting Standards:IAS
    2. ของอเมริกา Statements of Financial Accounting Standards: SFAS
  3. มาตรฐานของไทย
    1. มาตรฐานการบัญชีของไทย (Thai Accounting Standards: TAS)
    2. กำหนดโดย สภาวิชาชีพบัญชี อ้างอิงมาจากต่างประเทศ

3. นโยบายการบัญชี 

  1. นโยบายการบัญชี หมายถึง แนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ที่ฝ่ายบริหารเลือกมาใช้อย่างเหมาะสมและเปิดเผยไว้ เพื่อให้การจัดำงบการเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
  2. ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  3. ตาม มาตรฐานฉบับ 35 กำหนดแนวทางการเลือกนโยบาย ดังนี้
    1. มีหลายวิธีปฏิบัติในเรื่องเดียวกัน
    2. ไม่มีมาตรฐานโดยเฉพาะ
  4. ต้องเปิดเผยเกี่ยวเรื่องต่อไปนี้
    1. เกณฑ์การวัดค่าในการจัดทำงบการเงิน เช่น ราคาทุนเดิม ราคาทุนปัจจุบัน ราคายุติธรรม ฯลฯ
    2. นโยบายที่จำเป็นต่อความเข้าใจในงบการเงิน เช่น อธิบายรายการที่สะท้อนผลการดำเนินงาน รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ
    3. เรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างน้อย เช่น รับรู้รายได้ รวมกิจการ ร่วมค้า สัญญาก่อสร้าง สินค้าคงเหลือ ฯลฯ
ตัวอย่างการเปิดเผยนโยบายบัญชีในงบการเงิน


Previous
Next Post »