การตั้งค่าเบื้องต้นให้ Xampp + Wordpress

เปลี่ยน Port ของ Apache

1. ไปที่ไฟล์ C:\xampp\apache\conf\httpd.conf

2. ค้นหาบรรทัด 2 บรรทัด (อยู่คนละที่กัน) เปลี่ยนหมายเลขพอร์ต 80 เป็น 81 เซฟ
Listen 81
ServerName localhost:81
3. ทดสอบ http://localhost:81


เปลี่ยน Port ของ MySQL

1. ไปที่ไฟล์ C:\xampp\mysql\bin\my.ini

2. ค้นหาบรรทัด 2 บรรทัด (อยู่คนละที่กัน) เปลี่ยนหมายเลขพอร์ต 3306 เป็น 3307 เซฟ
[client]
# password       = your_password
port                   = 3306
[mysqld]
port= 3306
3. ไปที่ไฟล์ C:\xampp\php\php.ini

4. ค้นหาคำว่า mysql.defaultport แก้จาก 3306 เป็น 3307 และค้นหาคำว่า mysqli.defaultport (มี i ต่อท้ายด้วยนะ) ให้แก้หมายเลขเป็น 3307 เซฟ

5. เวลาเขียน connect ใน php
//สำหรับ MySQLi connection เขียนแบบ procedural $link = mysqli_connect('localhost', 'root', 'password', 'database_name',3307);
//สำหรับ MySQLi เขียนแบบ object-oriented$link = new mysqli('localhost', 'root', 'password', 'database_name',3307);

ตั้งค่า / เปลี่ยน Password ของ MySQL

1. กด Start เพื่อ รัน MySQL ไว้

2. กดปุ่ม Shell

3. ใช้ mysqladmin command-line เพื่อเปลี่ยนพาสเวิร์ด MySQL กรณีตั้งค่า password ครั้งแรก พิมพ์
mysqladmin --user=root password "newpassword"
ตัวอย่าง
mysqladmin --user=root password "1234"

กรณีจะเปลียนพาสเวิร์ดอันเดิมเป็นอันใหม่
mysqladmin --user=root --password=oldpassword password "newpassword"
ตัวอย่าง
mysqladmin --user=root --password=oldpass password "1234"
4. ทดสอบว่าโอเคมั้ย โดย select ตารางมาคำนวณซักอัน
mysql --user=root --password=1234 -e "SELECT 1+1"


ตั้งค่า Password ให้ PHPMyAdmin

พอเราทำข้างบนเสร็จ จะพบว่า เข้า phpmyadmin ไม่ได้ซะงั้น ทำต่อไป

1. ไปที่ไฟล์ C:/xampp/phpmyadmin/config.inc.php

2. หาบรรทัดต่อไปนี้

$cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'config';
$cfg['Servers'][$i]['user'] = 'root';
$cfg['Servers'][$i]['password'] = '';

ค่าที่เราสามารถกำหนดได้มีดังนี้

$cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'config';

ค่าที่เป็นไปได้ สำหรับ คำสั่งนี้คือ
  1. config เป็นค่า default เหมาะสำหรับการใช้งนบน localhost โดยทั่วไป หากใช้งานค่านี้จะไม่มีการถามรหัสผ่านก่อน แต่หากมีการกำหนดรหัสผ่านของ root อาจจะทำให้ไม่สามารถเข้าใช้ phpMyAdmin ได้
  2. http ถ้าใช้ค่านี้ จะต้องLogin ผ่านหน้าต่าง HTTP Authentication เหมาะสำหรับการใช้งานบน Server ทั่วไปที่มีผู้ใช้หลายคน (multi user)
  3. cookie ค่านี้จะเหมือนกับ ข้อ 2 คือมีการถามรหัสผ่าน ผ่านหน้าเว็บแบบทั่วๆไป ซึ่งมีข้อแตกต่างที่สามารถจำการ login ผ่าน cookie ได้
$cfg['Servers'][$i]['password'] = '';

อันนี้ให้กำหนดรหัสผ่าน เริ่มแรกเค้าไม่ได้กำหนดมาให้ 

แก้เป็น 
$cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'cookie';
$cfg['Servers'][$i]['user'] = 'root';
$cfg['Servers'][$i]['password'] = 'gue55me';

แก้ Access forbidden! New XAMPP security concept Error 403

1. ไปที่ไฟล์ C:\xampp\apache\conf\extra\httpd-xampp.conf

2. แก้ Require local เป็น Require all granted แล้ว save
<LocationMatch "^/(?i:(?:xampp|security|licenses|phpmyadmin|webalizer|server-status|server-info))">
        #Require local
Require all granted
ErrorDocument 403 /error/XAMPP_FORBIDDEN.html.var
</LocationMatch>
Credit: http://stackoverflow.com/questions/21161908/new-xampp-security-concept-access-forbidden-error-403-windows-7-phpmyadmin


แก้ ขนาดไฟล์ ที่จะ Import/Upload ใน PHPMyAdmin

ปัญหา: พอจะเอาไฟล์ .sql ไป import เข้า MySQL ใน phpmyadmin แต่มันจำกัดขนาดไฟล์ไว้ที่ 2M
พอกดส่ง จะขึ้น

No data was received to import. Either no file name was submitted, or the file size exceeded the maximum size permitted by your PHP configuration. See FAQ 1.16.

ในขณะที่พยายามนำเข้า (import) ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกิน 2M (2048 bytes) เข้าในฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpMyAdmin

1. แก้ไฟล์ configuration ของ PHP ที่ C:\windows\xampp\php\php.ini

2. แก้ขนาดสูงสุดของไฟล์ที่อัพโหลด + อื่นๆ
upload_max_filesize = 2M
post_max_size = 8M
max_execution_time = 30
แก้ตามใจ เป็น

upload_max_filesize = 500M
post_max_size = 50M
max_execution_time = 500


Previous
Next Post »