ระบบสารสนเทศ (Information System)


1. ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบด้านสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กันและสามารถทำงานร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งาน องค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ Data Processing Information Feedback

ขอบเขตระบบ ระบุเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในทีม เป็นตัวจำแนกว่าสิ่งใดเป็น สิ่งแวดล้อมในระบบ และสิ่งแวดล้อมนอกระบบ

2. ลักษณะของสารสนเทศที่ดี

  1. Accuracy คลาดเคลื่อนน้อยสุด
  2. Completeness คลอบคลุมทุกด้านเพื่อการตัดสินใจ
  3. Timelines เตรียมพร้อมต่อการทันเวลา เรียกใช้งานได้ทันที
  4. Relevance ตรงความต้องการและตอบสนองการใช้งาน
  5. Up-to-date ปรับปรุงอยู่ตลอด
  6. Verifiability ตรวจสอบแหล่งที่มาได้

3. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานการทำงาน

  1. Hardware
  2. Software
  3. Network/Communication
  4. User
  5. Data
  6. Regulation
  7. Document/Manual

4. ประเภทของระบบสารสนเทศ

1. ระบบประมวลสารสนเทศเชิงรายการ (Transaction Processing System: TPS)

ใช้จัดเก็บข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินงานประจำวันขององค์กรเข้าสู่ระบบสารสนเทศ 

เช่น ยิงบาร์โค้ดในร้านค้า ระบบยืมคืนหนังสือ ระบบลงทะเบียนวิชา ระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย

คุณลักษณะสำคัญ TPS ประกอบด้วย 
  1. Storage เพิ่ม แก้ไข ลบข้อมูลได้
  2. Classification จัดหมวดหมู่ตามการใช้งาน
  3. Calculation คำนวณจากข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ เช่น รายได้่สุทธิแต่ละวัน เกรดเฉลี่ย
  4. Sorting เรียงลำดับข้อมูล 
  5. Summarization สรุปข้อมูลในระบบ เช่น จัดพิมพ์ใบส่งของ แสดงเกรดตามเทอม

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)

ใช้ข้อมูลที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์และสรุปผลในรูปแบบรายงานเพื่อให้ผู้บริหารใช้วางแผน

คุณลักษณะสำคัญ MIS เน้นจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ ดังนี้
  1. Periodic Reports เช่น รายงานประจำวัน/เดือน/ปี
  2. Demand Reports/Ad-hoc Reports จัดทำตามความต้องการใช้งานของผู้บริหาร
  3. Key Indicator Reports สรุปกิจกรรมสำคัญขององค์กร เช่น ผลการผลิต ยอดขาย สถานะการเงิน
  4. Exception Reports ประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหา ณ ขณะนั้น เช่น รายงานปัญหาการปฏิบัติงานล่าช้า รายงานลูกค้าที่ไม่ทำตามสัญญา รายงานสินค้าคงคลังที่หายไป

3. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS)

นำข้อมูลจาก TPS + MIS + ข้อมูลภายนอก มาร่วมในการพิจารณาเพื่อให้ผู้บริหารมองเห็นทางเลือกหลายๆ ทาง ที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหนึ่งๆ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ  มักเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ Unstructured Decision หรือ Semistructured Decision ที่ตัดสินใจไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าหรือเดายาก

คุณลักษณะสำคัญ DSS ประกอบด้วย 
  1. Data Management ฐานข้อมูลและการดึงข้อมูล
  2. User Interface ให้ผู้ใช้สั่งงานได้
  3. Model Management เก็บแบบจำลองแยกเป็นอีกฐานข้อมูลหนึ่ง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณคำตอบเพื่อการตัดสินใจ
DSS มีความสามารถในการวิเคราะห์ในรูปแบบ Sensitivity Analysis ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลจากการเปลี่ยนแปลงของ Model ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วน หากมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้าแล้วจะส่งผลถึงผลลัพธ์อย่างไร แบ่งเป็น 2 ประเภท
  1. What-if Analysis เป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง input ที่จะมีผลกระทบต่อ output
  2. Goal-seeking Analysis วิเคราะห์แบบ back solution วิคราะห์ input ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ output ตามกำหนด
การแยกฐานข้อมูลของสารสนเทศที่เตรียมไว้สำหรับ DSS และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความเร็วในการดึงมาใช้ เรียกฐานข้อมูลดังกล่าวว่า Data Warehouse มีลักษณะ ดังนี้
  1. DSS อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขสารสนเทศใน DW ไม่ได้
  2. เก็บสารสนเทศไว้ 3 แบบ คือ Detail Summary และ Exception
  3. สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้ง End-user และ ผู้บริหาร
  4. เตรียมเครื่องมือที่สนับสนุนการตัดสินใจ เช่น Excel Acess สร้างรายงาน Focus วิเคราะห์สถิติ SAS SPSS

4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System: EIS)

นำข้อมูลจาก TPS + MIS + DSS + ภายนอก มาใช้ร่วมกัน ข้อมูลคล้ายๆ DSS แต่จะไม่เน้นตัดสินใจระดับปฏิบัติการ/ระยะสั้น แต่เน้นเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบและพยยากรณ์แนวโน้มสถานกาณ์ ใช้รูปภาพหรือแบบจำลองนำเสนอ

คุณลักษณะสำคัญ EIS ประกอบด้วย 
  1. Strategic Planning Support ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
  2. External Environment Focus เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กรณ์
  3. Broad-based Computing Capabilities คำนวณผลในภาพรวม คลอบคลุมประเด็นที่สนใจ นำเสนอเข้าใจง่าย (ตาราง แผนภูมิ)
  4. Ease of Use ใช้ง่าย ตอบสนองทันท่วงที

5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)

เป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหาร โดยป้อนคำถาม จากนั้นระบบจะจัดหาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับปัญหาจากฐานองค์ความรู้ เพื่อนำมาวินิจฉัยหาข้อสรุป (Rule Bases + Inference Engine)

คล้าย DSS แต่ต่างกันที่ว่า DSS เสนอทางเลือกให้ตัดสินใจ แต่ ES ตัดสินใจแทนผู้ใช้ 

คุณลักษณะสำคัญ EIS ประกอบด้วย
  1. ES จะเลียนแบบวิธีการคิดและเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ
  2. อาจนำ ES มาใช้ร่วมกับ AI เรียกการทำงานร่วมกันว่า Expert System Shells
  3. ดึงสารสนเทศจาก Data Warehouse เช่นเดียวกับ DSS
ระบบจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) รวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เป็นหมวดหมู่เพื่อเป็นทรัพยากรในการทำงาน

6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)

เกี่ยวข้องการรวบรวมข้อมูล ผลิตเอกสาร สื่อสารข้อมูล สนับสนุนการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 คุณลักษณะสำคัญ OAS ประกอบด้วย 
  1. Document Management System จัดทำ/เก็บเอกสาร สร้างฟอร์มอัตโนมัติ
  2. Message-handling System เช่น email voice mail
  3. Teleconferencing System เช่น vtc atc
  4. Office Support System เช่น กระดานข่าว E-Bulletin Board, Calendar Management, Groupware

ระดับผู้ใช้
ระบบ
Top 
DSS EIS
Middle 
MIS
Lower 
TPS
ทุกระดับ 
ES OIS
Previous
Next Post »